วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

ว่าด้วยเรื่องวรรณกรรมและระดับของจิตใจ

"การอ่านวรรณกรรม เป็นการยกระดับของจิตใจ"
หลายท่านคงเคยได้ยินคำกล่าวประโยคนี้ และบางท่านอาจจะสงสัยว่าวรรณกรรมช่วยยกระดับจิตใจอย่างไร ผมเองก็สงสัยด้วยเช่นกัน
ลองมาอ่านความคิดเห็นของผู้ไม่มีความรู้ทางวิชาการอย่างผมบ้างนะครับ จากการ สังเกต ครุ่นคิด ใคร่ครวญ เดา ฝันกลางวัน และอื่นๆ ทำให้ผมพอจะมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ
การเสพย์วรรณกรรม ช่วยให้จิตใจละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น ไม่ได้หมายถึงแค่วรรณกรรมเท่านั้นนะครับ การเสพย์ศิลปะแขนงอื่นก็เช่นเดียวกัน
ผมขอสมมติเหตุการณ์คนสองคนกำลังนั่งฟังการบรรเลงเพลงคลาสสิค
คนหนึ่งซาบซึ้งดื่มด่ำถึงจิตวิญญาณจนน้ำตาคลอเบ้า
อีกคนรู้สึกเหมือนมีเสียงอะไรกรอกผ่านหู อยากให้เพลงจบเร็วๆจะได้ลุกไปทำอย่างอื่นที่ดูสำคัญกับชีวิตมากกว่า
ผมคิดว่านี่คือตัวอย่าง ความแตกต่างของระดับจิตใจครับ
ผมไม่ได้จำกัดระดับของจิตใจไว้กับรสนิยมว่าสูงจะต้องคลาสสิคเท่านั้นนะครับ แต่ผมเพ่งเล็งไปที่รูปแบบของความสุข
คนที่จิตใจละเอียดอ่อนสามารถหาความสุขได้ง่ายๆจากสิ่งรอบกาย ไม่ว่าจะเป็น สายลม แสดงแดด สามารถมองอะไรในแง่มุมที่งดงาม และความสุขที่ได้จากการเสพย์งานศิลปะก็ลึกซึ้งดื่มด่ำยิ่งนัก
ส่วนคนอีกจำพวกหนึ่ง ต้องตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก จึงจะสะใจพอแก้เซ็งให้ชีวิตได้
และอีกอย่างหนึ่งผมคิดว่าวรรณกรรมช่วยให้เข้าใจในมนุษย์มากขึ้น
ในตำราเรียนอาจจะสามารถอธิบายให้เรามีความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถที่จะทำให้เข้าใจ เพราะการบรรยายในตำรารเรียนใช้เพียงภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อความที่ค่อนข้างหยาบ
แต่ในวรรณกรรม ใช้ภาษานำไปสู่ภาพพฤติกรรม และภาพพฤติกรรมก็นำไปสู่การเข้าใจมนุษย์อีกทอดหนึ่ง
ขออนุญาตยกตัวอย่างมาจาก เจ้าหญิงบนหอคอย ของ คุณ นลพรรณ ขาวผ่อง ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดโครงการ youngthai short story award เดือนมีนาคม 2553

ฉันไม่อยากเป็นแค่ 'สิ่งของ' ที่ถูกประดับอยู่ในบ้าน

คืนหนึ่งหลังจากที่ร้องเพลงให้คุณฟังแล้ว ฉันขอร้อง

ให้คุณพาฉันออกไปจากห้องนี้

จะแค่สนามเด็กเล่นหรือสวนสาธารณะข้างบ้านก็ได้

จะที่ไหนก็ไม่เป็นไร

ต่อให้ตำราอธิบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาวะในไฮโพทาลามัส ฮอร์โมนที่หลั่งออกมาที่มีผลต่อสภาวะถดถอยของระบบร่างกาย ละเอียดแค่ไหน ก็ไม่สามารถทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของผู้หญิงคนนี้ได้ดีไปกว่า บทประพันธ์ท่อนนี้ท่อนหนึ่ง

ความเห็นแถมท้ายของผม ผมคิดว่าน่าเสียดายที่วรรณกรรมส่วนใหญ่ในสมัยนี้เน้นความ หวือหวา วาบหวาม อึกทึกครึกโครม แปลกพิศดารเรียกร้องความสนใจมากเกินไป (คาดว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากวัตถุนิยม) ทำให้ความสามารถในการเสพย์ความสุขที่ละเอียดอ่อนและความเข้าใจในมนุษย์ของคนในปัจจุบันลดน้อยถอยลง แต่ก็ยังไม่หมดไปเสียทีเดียว
ปล.มายกระดับจิตใจ แก้เครียด ด้วยบทกวีปัญญาอ่อนของผมดูนะครับ
ในวันที่กระจั้วตัวแดงๆพร้อมที่จะสยายปีกโบยบิน
คือวันที่ฉันสิ้นเยื่อใยในตัวเธอ
เธอผู้ทำร้ายฉัน
เธอผู้น่ารักน่าชัง
เจ้าแมงกีซอน

ขำๆครับ อย่าคิดมาก (กลัวจะขำไม่ออกกัน)

3 ความคิดเห็น:

  1. แสนรู้ แสนรัก

    มึนแมนจัก แสนไหน?

    แสนรู้ แสนห่วงใย

    หรือแสนไกล....คนละทาง..


    มีนแมนในห้วงรัก..

    ไร้อุปสรรค ที่กีดขวาง

    รักหลง จงคิด อย่าผิดทาง..

    ปล่อยวาง...วางหัวใจ..ให้ใกล้กัน..


    แด่ มึนแมนแดนรักทำให้คนตาบอดสี

    เห็นแต่สีชมพู

    ตอบลบ
  2. ครับผม ตอนนี้มองอะไรก็สีชมพูไปหมดเลย ง่า

    ปล.อนาคตเอาแน่เอานอนไม่ได้ อาจจะเห็นเป็นสีม่วงไปหมดเลยก็ได้ครับ อิอิ

    ตอบลบ
  3. ศิลปะทุกแขนงช่วยจรรโลงใจมนุษย์
    และพัฒนาคุณค่าทางจิตวิญญาณได้ทั้งสิ้น
    จงเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ชอบ
    เพื่อการก้าวสู่การเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์

    ความรักไม่ใช่สีชมพูหรอก
    นั่นไม่เรียกว่ารัก
    นั่นหลงต่างหาก
    ความรักมีคุณค่ามากกว่านั้นอีกหลายเท่านัก

    จะสีอะไรก็ไม่สำคัญเท่าความสัตย์ในรักนั้นตราบชั่วฟ้าดินสลาย

    จริงไหม? ^^

    ตอบลบ