วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

ความเป็นอนิจจังของจิตกับกรอบความคิด

หมายเหตุ : นี่เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างซื่อๆจากใจ อาจจะกระทบกระทั่งกับคำสอนของพระพุทธศาสนาก็ขออภัย เพราะผมเชื่อว่าการแสดงความคิดเห็นที่อ้อมค้อมและเสแสร้งเพื่อปกป้องตัวเองนั้น ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ใดเลย
ผมพอจะทราบมาว่า กฏที่ใช้บรรยายความเป็นไปของสรรพสิ่งในโลกตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาคือ กฏไตรลักษณ์ อันได้แก่ ทุกขัง อนิจจัง และอนัตตา
วันนี้ผมจะขอพูดถึงกฏเรื่อง อนิจจัง(ความไม่แน่นอน) ของสภาวะจิตใจ
จากประสบการณ์ การปลูกฝัง และการเรียนคำสอนของพระพุทธศาสนา ทำให้ผมตระหนักว่าจิตใจของคนหนีไม่พ้นสภาวะอนิจจัง
ไม่ว่า สุข ทุกข์ เศร้า สนุก หรือ เฉยๆ ล้วนไม่คงอยู่ถาวร มีการเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่เสมอ
แต่เนื่องจากการได้อ่านหนังสือฮาวทูซึ่งส่วนใหญ่แปลจากนักเขียนตะวันตก บางเล่ม ที่เน้นย้ำเรื่องการทลายกรอบความคิดของตัวเอง ถ้าคิดว่าตัวเองทำได้ก็จะทำได้
ขอยกตัวอย่างการฝึกเหากระโดดในโหลของประเทศเม็กซิโก เพราะเหาคิดว่ากระโดดสูงไปเดี๋ยวหัวก็ชนฝา จึงไม่กล้ากระโดดออกไปทั้งๆที่ปากโหลเปิดอยู่
ผมขออนุญาตโยงเรื่องกรอบความคิดมาเกี่ยวกับคำสอนเรื่องอนิจจังของจิตหน่อยนะครับ
ในใจเมื่อมีทุกข์ย่อมมีสุขเป็นของคู่กัน ไม่มีสภาวะใดอยู่ได้คงถาวร
ในหัวผมเกิดคำถามขึ้นมาว่า เราอยากจะมีความสุขตลอดเวลาไม่ได้เหรอ?
ถ้าหลักคำสอนเรื่องอนิจจังตอบว่าไม่ได้ ถ้าเช่นนั้นคำถามที่สองที่ผุดขึ้นมาก็คือ การนำกฏเรื่องอนิจจังมาอธิบายสภาวะของจิตเป็นการตีกรอบความคิดของเราหรือเปล่า
อาจเพราะเราเชื่อในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เชื่อว่าทำไม่ได้แน่ เลยทำไม่ได้สักที
สมมติว่าคนหนึ่งเชื่อว่าตนทำได้ ตั้งปณิธานไว้ว่าเราจะเป็นผู้มีแต่ความสุขนับแต่บัดนี้ ทุ่มเทชีวิตฝึกฝนและคิดค้นทุกวิถีทาง ฝึกยิ้มรับกับทุกความเจ็บปวด
เขาจะมีทางทำได้ไหมครับ เขาจะมีโอกาสได้เป็น happy man สมดังใจไหมครับ?
แล้วเคยมีใครลองทำหรือยังครับ?
ตัวผมไม่เคยลอง อยากลองอยู่แต่ไม่กล้า เหมือนกับว่ามันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินไป ที่แน่ๆตัวผมตอนนี้มีแต่กรอบเต็มไปหมด
สมมติคนๆหนึ่งอยากบินด้วยตัวเอง เริ่งตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆ ฝึกกระพือแขนและกระโดดลงมาจากที่สูง เริ่มจากเตี้ยๆก่อนแล้วค่อยสูงขึ้นวันละนิดๆ ทุ่มเทชีวิตให้กับสิ่งนี้
สักวันหนึ่งเขาอาจจะบินได้ก็ได้ ผมก็ไม่รู้เพราะไม่เคยเห็นใครลองทำ
ความคิดเห็นเหล่านี้ของผมอาจจะห่างไกลจากแก่นของพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่อง “การละตัวกูของกู”
แต่ผมคิดว่ามันเป็นกระพี้ที่น่าสนใจนะครับ
ปล.หวังว่าบทความต๊อกต๋อยชิ้นนี้ จะไม่กระทบกระเทือนพระพุทธศาสนาแต่อย่างใดนะครับ ผมยิ่งกลัวๆอยู่ อิอิ

3 ความคิดเห็น:

  1. กระทบบ้างก็ได้ครับ ไม่ว่าศาสนาหรือสิ่งใดๆ

    เราไม่เคยมีความคิดที่จะ ทำลายล้างอยู่ แต่หากทนรับการตั้งคำถามกันตรงๆไม่ได้ สังคมก็อยู่ยากนะ เพราะทุกคนสักแต่จะทำและป้องกันตัวเองด้วยคำว่า อย่าลบหลู่ ทั้งๆ ที่หลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้าก็บอกว่า อย่าเชื่อโดยไม่คิด อย่าเชื่อตามๆกัน โดยไม่ได้พิสูจน์

    เอ....มึนแมนอายุเท่าไรเนี่ย

    อีกสักห้าปีจะมารออ่านความคิดมึนแมนใหม่ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนไหม?

    อิอิ

    ตอบลบ
  2. "There is no gene for the human spirit."
    From Gattaca

    ตอบลบ
  3. หลักอนิจจังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาซึ่งใช้ในการอธิบายชีวิต
    ซึ่งก็หมายความว่าไม่ได้ใช้อธิบายได้หมดในทุกกรณี

    อนิจจังไม่ได้บอกให้เรายอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่
    เพียงแต่บอกเราว่าทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนแปลง
    มีใครทึกทักเอามาเป็นกรอบความคิดให้ตัวเองหรือ?

    ความเชื่อเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งได้
    แม้แต่กรอบความคิดหรือตัวตนของเราเอง
    แล้วคุณกล้าหรือไม่ที่จะทำลายการดำรงอยู่ของตนเอง?
    คุณเชื่อมากพอแล้วหรือยัง?

    ไม่เคยมีอะไรถูกหรือผิดเกิดขึ้น
    เราให้คุณค่ามันไปเองหรือเปล่า?

    ตอบลบ