วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

โอ้ ความเบื่อ




ผมมีความเห็นว่า “ความเบื่อ” เป็นแรงผลักดันให้เกิดการทำกิจกรรมมากมาย เป็นแรงผลักดันในเชิงลบ ผู้คนส่วนใหญ่ดิ้นรนเพื่อจะหลุดพ้นจากอิทธิพลของมัน
ขอระบายหน่อยครับ วันนี้เรียนภาษาอังกฤษที่ AUA อาจารย์บ่าก้วยก๋า(แปลว่าฝรั่ง) เขาให้จับคู่กับผู้หญิงในชั้น จำลองสถานการณ์ว่าอยู่ในผับโดยการเปิดเพลงดังๆ แล้วให้เราพยายามพูดทำความรู้จักกับฝ่ายตรงข้าม
ประโยคหนึ่งจากคู่ของผมที่โดนใจผมมากก็คือ do you think it’s boring อื้อหือ.. จี๊ดโดนใจจนหน้าชา สมองมึนตึ้บไปชั่วขณะทีเดียวเชียวครับ ผู้อ่านที่เป็นวัยรุ่นชายราวๆมัธยมปลายน่าจะเข้าใจความรู้สึกของผมดีครับ เรื่องแบบนี้ผมว่ามันเป็นเรื่องศักดิ์ศรีตามธรรมชาติของวัยรุ่นชายเลยนะครับ
โดยส่วนใหญ่ที่ผมสังเกตเห็นและตัวผมเอง วัยรุ่นให้ความสำคัญของหน้าตาตนเองในสังคมค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่จะเป็นสังคมประเภทเพื่อน ยกตัวอย่างเช่น การตามแฟชั่น การใช้คำหยาบเป็นหางเสียง(เห้! เยะเข้!) วัยรุ่นก็ต้องการเกียรติในหมู่วัยรุ่นด้วยกัน คงไม่มีใครชอบหากถูกตราหน้าว่าเป็นคน น่าเบื่อ
ผมก็รู้ตัวว่าผมบ่อมีไก๊เรื่องพวกนี้ ผมก็พยายามเต็มทีแล้วมันก็ได้แค่นี้แหละครับ แต่ผมคิดว่าตัวเองพอจะมีไก๊เรื่องบ่นเป็นตัวอักษร เลยเลือกที่จะมาระบายความรู้สึกในบล็อกสะเลย
ผมพยายามคิดให้มีสาระด้วยนะครับ ผมคิดว่า “ความเบื่อ” ก็เป็นรูปแบบของความทุกข์อย่างหนึ่ง ไม่ต่างจากความเจ็บปวด ขออนุญาตเรียกว่า ความเบื่อ ก็เป็นวิภาวะตัณหา(สิ่งที่ไม่ให้อยากเกิด ธรรมมะธรรมโมนิดหน่อยอย่าเพิ่งหลับนะครับพี่น้อง!!)เช่นเดียวกับความเจ็บปวด
แต่สังคมเราให้ความสำคัญของความทุกข์สองอย่างนี้ไม่เท่ากันครับ ความเจ็บปวด ยิ่งผู้ใดแบกรับมากก็ดูเหมือนยิ่งได้รับการยกย่องว่ายิ่งใหญ่ อย่างเช่น พระเยซูไถ่บาปให้มนุษย์ ส่วน ความเบื่อนี่ ยิ่งใครแบกรับมันมากก็ยิ่งได้รับการดูถูกนะครับผมว่า และดูเหมือนทุกคนที่แบกรับก็ไม่มีใครตั้งใจจะแบกรับมันสักคน
พระอาจารย์เคยบอกไว้ว่า อยากจะพ้นทุกข์ก็ต้องเรียนรู้จากความทุกข์ ความเบื่อก็เป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้เช่นกัน
ผมคิดว่าคนสมัยใหม่ที่ทำอะไรห่ามๆและดูถูกคนน่าเบื่อ ผมว่าลึกๆเขาก็กำลังกลัว “ความเบื่อ” และต้องทำอะไรสักอย่างเพื่ออยู่ห่างจากมันมากที่สุด
แต่หนีต่อไป จนแล้วจนรอดมันก็คงตามทันในที่สุด มีใครบางคนที่มีความรู้เคยบอกไว้ว่า จงเผชิญหน้ากับความทุกข์ด้วยการเรียนรู้มัน
เช่นนั้นแทนที่เราจะเอาแต่ดิ้นรนหนีความเบื่อ พวกเรามาหัดเรียนรู้มันบ้างดีกว่าครับ และโปรดให้โอกาสคนน่าเบื่อด้วย(ขอร้องล่ะครับ โฮๆๆ)
ผมก็ดีแต่พูดแสดงความคิดเห็นไปอย่างนั้นแหละครับ ตัวเองยังไม่ค่อยจะรอดเลย ใครมีความคิดเห็นอะไร ก็ลองแสดงกันได้นะครับ ดีไม่ดีว่ากันอีกทีครับ
ปล.บทความนี้เขียนคู่กับเรื่องสั้น “เดี๋ยวก็ชิน”ครับ มือผมยังไม่ถึง กลัวว่าผู้อ่านอ่านแล้วจะไม่เข้าใจว่าเรื่องสั้นต้องการสื่อถึงอะไร(หลักๆ) ขอบคุณที่อ่านนะครับ

5 ความคิดเห็น:

  1. พี่เชื่อว่ามึนแมนไปได้ไกลแน่ๆว่ะ
    จากการเขียนบทความ

    และความคิดของตน

    งานของมึนแมนน่าอ่านตรงมีความจริงเรียงร้อยไปสู้บทสรุปที่เราต่างรู้ดี
    แต่ไม่ค่อยคิดถึงมัน..

    ตอบลบ
  2. หนีช่วงเวลาน่าเบื่อ
    มาอ่าน โอ้ น่าเบื่อ
    แก้เบื่อ ค่ะ

    อ่านไม่เบื่อ นะ


    พี่ว่า ... ความน่าเบื่อ คือ จุดเริ่มต้นสู่ความไม่น่าเบื่อ
    ซึ่งเราเองเป็นผู้สลับราง
    เมื่อเบื่อจนถึงที่สุด เรามักขยับทำสิ่งต่างๆ
    ไม่งั้นจะกินตัว เหมือน Me in the Dark
    เรื่องสั้นที่น่าสนใจนี้ อาจมาจาก ช่วงเวลาแห่งความเบื่อ ก็เป็นได้

    ความเบื่อจึงมีประโยชน์อยู่ในตัวของมันเอง
    พี่เคยเบื่อมามาก รู้จักมัน คุ้นเคย ผูกมิตร
    และลาจาก

    เช่นเวลานี้ใกล้ห้าโมง กำลังจะเลิกงาน
    แต่งานยังไม่เลิก ต้องนั่งรอเวลา
    เลยได้อ่าน โอ้ น่าเบื่อ แก้เบื่อ ค่ะ

    แล้วจะย้อนกลับมาอ่าน เรื่องสั้น ในไม่ช้า


    ..

    .

    ตอบลบ
  3. พอดีเห็นโพสต์ไว้ใน youngthai เลยเข้ามาอ่านครับ ถือเป็นการให้โอกาสคนน่าเบื่อครับ ล้อเล่นนะครับ ผมเห็นคุณเจ้าของ blog มาคอมเมนท์ใน youngthai อยู่บ่อยๆ แต่ไม่เคยเห็นผลงาน มีแนะนำหรือเปล่าครับ จะได้ลิ้มลองดูครับ ยินดีที่ได้สบตาผ่านตัวหนังสือครับ
    newre-read.blogspot.com

    ตอบลบ
  4. ว้าว! น้องมึนแมน
    ตื่นเต้นอ่ะ
    มึนแมนมีผู้ติดตามอ่ะ
    (กระซิบๆ พี่ว่ามีอีกหลายร้อยคนนะ )

    โอย ตื่นเต้นๆ

    :)

    จันทร์ตะวัน

    ตอบลบ
  5. เราจะรู้จักเบื่อไหมถ้าเราไม่เคยเบื่อ?
    คงจะแย่น่าดูถ้าทำอะไรไปเรื่อย ๆ แล้วไม่เบื่อ
    แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีอะไรเลยที่น่าเบื่อ

    เพราะ"เดี๋ยวก็ชิน"

    ตอบลบ